4 ประเภทตู้เชื่อม เครื่องเชื่อม ความรู้เบื้องต้นของตู้เชื่อมแต่ละประเภท

348434 จำนวนผู้เข้าชม  | 

       

     ตู้เชื่อมหรือเครื่องเชื่อม เป็นเครื่องสำหรับงานช่างประเภทงานเชื่อม ซึ่งงานเชื่อมเป็นการเชื่อมด้วยไฟฟ้า โดยการผสมผสานระหว่างโลหะเข้าด้วยกันหรือติดกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงให้กับช่างเชื่อมในการเชื่อมโลหะ หรือเหล็ก โดยวิธีการทำงานของ ตู้เชื่อมไฟฟ้าจะใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์กของไฟฟ้าหลอมให้โลหะหรือเหล็ก

1.   ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC

       ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-)  แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน

ข้อดี : ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ แนวเชื่อมสวยงาม ชิ้นงานเนียบมีคุณภาพ สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ ไม่ต้องใช้ลวดเติม สามารถเชื่อมชิ้นงานบางๆได้ ทั้งสแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเชื่อม TIG บางรุ่นสามารถทำการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์

ข้อเสีย : ข้อเสียของการใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ เชื่อมได้ช้า ราคาค่อนข้างแพง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ต้องใช้แก๊ส เป็นต้น

ดังนั้น  ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG เหมาะสำหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บางๆ)

 

2.   ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า (ARC/MMA) เป็นตู้เชื่อมที่เชื่อมเหล็กด้วยธูปเชื่อม ลักษณะตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์จะมีราคาถูก สามารถเชื่อมได้ทั้งงานเหล็ก, สแตนเลส ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก

ข้อดี : ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA)  คือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส

ข้อเสีย : ข้อเสียของการใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) คือ ความร้อนและสะเก็ดไฟหรือประกายไฟที่เกิดจากการอาร์ก ควันมาก ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ไม่เหมาะกับการเชื่อมชิ้นงานบางๆ

ดังนั้น ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมงานเหล็ก, สแตนเลส จนถึงช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม

 ตู้เชื่อม 600A BKK MMA-600

3.   เครื่องเชื่อม CO2 หรือที่ช่างเรียกกันว่าตู้เชื่อม MIG  เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้วิธีการป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องเลย ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้ก๊าซ CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอะลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน ส่วนจะเชื่อมอะลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner)

ข้อดี : ข้อดีของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เครื่องเชื่อม CO2 สามารถเชื่อมแบบป้อนลวดเติมแบบอัตโนมัติ การเชื่อม CO2 สามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ

ข้อเสีย : ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ ราคาค่อนข้างสูง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและใช้แก๊ส ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ใช้กระแสไฟสูง

ดังนั้น  เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานได้ทุกประเภท

 

4.   เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) หรือเครื่องตัด CUT เป็นตู้เชื่อมที่ต้องต่อกับปั๊มลม ใช้ลมช่วยในการตัด เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิด แต่ความหนาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความแข็งและเหนียวของโลหะ ซึ่งงานเหล็กจะตัดได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลส และอลูมิเนียม ตามลำดับ

ข้อดี : ข้อดีของเครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) คือ ตัดโลหะได้ทุกชนิด มีความสวยงามของแนวตัดสูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย ตัดงานบางได้ดี เนื่องจากความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดการบิดงอ หรือเสียรูปและมีความปลอดภัยสูง

ข้อเสีย : เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) มีราคาค่อนข้างสูง ,คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชำนาญของผู้ใช้ ,อะไหล่สิ้นเปลืองของเครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนบ่อย

ดังนั้น เครื่องตัดพลาสม่าเหมาะกับการตัดโลหะ ทั้งอลูมิเนียม คาร์บอน สเตนเลส ทองแดง ทองเหลือง บรอนซ์นิกเกิลอัลลอย เซอร์โครเมียม เป็นต้น ทั้งนี้ก๊าซ (หรือลม ) ตัวกลางที่นํามาเป็นส่วนของก๊าซพลาสม่าก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้องานที่นํามาใช้ อย่างไรก็ตามคุณภาพของชิ้นงานที่ตัดก็ขึ้นอยู่กับความชํานาญของผู้ใช้เป็นส่วนสําคัญด้วย

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ตู้เชื่อมอาร์กอน TIG-400 2 ระบบ MASAKIตู้เชื่อมอาร์กอน TIG-400 2 ระบบ MASAKI

https://www.wongtools.com/product/50399-40472/%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-600a-bkk-mma-600ตู้เชื่อม 600A BKK MMA-600

ตู้เชื่อมซีโอทู CLIFF MIG -203ตู้เชื่อมซีโอทู CLIFF MIG -203

เครื่องตัดพลาสม่า BONCHI CUT-40เครื่องตัดพลาสม่า BONCHI CUT-40

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้